วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การผ่าตัดคลอด

   จริงๆ แล้วการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ เป็นวิธีที่ดีและง่ายที่สุดกว่าวิธีไหนๆในโลก (จริงไหมแม้จะดูหวาดเสียวหวาดกลัวไปบ้าง แต่ไม่มีวิธีไหนๆที่จะดีเท่าวิธีคลอดธรรมชาติอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านความเจ็บปวด อย่างไรก็หลีกไม่พ้นอยู่ดี ต่อให้วางยาแล้วผ่าออก พอด้นตัวคุณแม่ก็ต้องมานอนเจ็บแผลที่ผ่าอยู่ดี การดูแลรักษาก็ยุ่งยากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติอีกด้วย
            ส่วนใหญ่หากคุณแม่เป็นผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอไม่แข็งแรงแล้วละก็คุณหมอก็จะแนะนำให้ทำการผ่าเอาเจ้าตัวเล็กออก โดยไม่ต้องเบ่งให้เสียเวลา อีกทั้งยังไม่ต้องลุ้น นัดหมายกำหนดเวลาการผ่าตัด ก็ได้เห็นหน้าเจ้าตัวเล็กทันที ไม่ต้องรอลุ้นเหมือนคลอดแบบธรรมชาติ (ก็ดีเหมือนกันนะคะวิธีนี้) แม้จะไม่ได้ภูมิใจที่คลอดเอง แต่อย่างไรเจ้าตัวเล็กก็ได้ชื่อว่าเป็นลูกของคุณแม่ คุณแม่อุ้มท้องเขามาตั้งกว่า 10เดือนเชียวนะคะ ไม่เป็นไรหรอกค่ะ
            ลักษณะของท้องคุณแม่ในกรณีที่ต้องทำการผ่าออกนั้นคุณหมอได้ระบุไว้มากมายหลายกรณีซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากเจ้าตัวเล็กที่อยู่ในท้องนี่แหละคะ จะอย่างไรเสียอีกละคะ บางคนก็เอาหัวลง (อันนี้ง่ายต่อการคลอดของคุณแม่) บางคนเอาก้นลง บางคนเอาตัวขวางอยู่ ไม่ยอมกลับตัว คุณแม่บางรายมีรกอยู่ต่ำเกินไปอีก ในบางกรณีเจ้าตัวเล็กนั้นตัวโตเกินกำหนด นี่แหละค่ะสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ไม่ได้คลอดเอง นอกเหนือจากร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็เกิดจากปัญหาเหล่านี้ ถึงต้องเดือดร้อนคุณหมอเอาเจ้าตัวเล็กออกทางลัด ก็ด้วยการผ่าออกทางหน้าท้องฟังดูเหมือนง่ายๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลยค่ะ
            สำหรับการผ่าตัดคลอดนี้ ฟังดูแล้วอาจไม่ยุ่งยากเท่ากับการคลอดแบบธรรมชาติไม่ต้องอาศัยลมเบ่ง ไม่ต้องฝึกการหายใจ เพียงแค่วางยา ถึงเวลาก็ผ่าออกเท่านี้เองใช่ไหมคะ
            แต่วิธีดังกล่าวนี้ คุณหมอส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะแนะนำให้คุณแม่ทำเท่าไหร่ เพราะหากคุณแม่บางรายมีสุขภาพร่า่งกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ควรคลอดแบบธรรมชาติจะดีกว่า หลังคลอดจะฟื้นตัวได้เร็วกว่ากรณีที่ผ่าออก อีกอย่างคือวิธีการผ่าออกนี้มักมีความเสี่ยงสูงกว่าการคลอดแบบ ธรรมชาติ จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย  
กลวิธีในการผ่าตัดคลอด 
นึกถึงคุณแม่ที่ต้องทำการผ่าตัดคลอด เนื้อหนังของเราดีๆ จะต้องไปผ่านใบมีดของคุณหมอ คิดแล้วก็เสียวๆ เหมือนกัน แต่ทำไงได้ละคะมันมีเหตุที่ทำให้ต้องผ่านี่นา คิดแล้วทำใจเลยเถอะนะคะคุณแม่ แต่ได้ความจากคุณแม่มึอเก่าที่ใช้วิธีผ่าคลอดนี้ เขาว่ากันว่า จะมีทีมคุณหมอที่ดูแลคุณแม่อย่างใกล้ชิดทีเดียว ที่เราคุ้นๆ หู เรียกกันว่า "วิสัญญีแพทย์" คุณหมอเหล่านี้จะคอยดูแลให้คุณแม่ไม่รู้ลกเจ็บปวดโดยวิธีที่ใช ้ในการผ่าตัดคลอดนี้ มีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ่ ดมยาสลบและอีกวิธีหนื่งก็คือวิธี "บล็อกหลัง" เรามาทำความรู้จักกับทั้ง 2 วิธีนี้กันเลยดีกว่าค่ะ           
ผ่าคลอดแบบ "ดมยา"
            ขึ้นชื่อว่าดมยาคงหนีไม่พ้นเรื่องยาสลบเป็นแน่ โดยการผ่าคลอดแบบดมยานี้ คุณหมอจะทำให้คุณแม่หมดความรู้สึกใดๆ พูดง่ายๆ ก็คึอ หลับไปเลยนั่นเองค่ะ โดยคุณหมอจะเริ่มจากการฉีดยาเข้าไปทางสายน้ำเกลือ จากนั้นเมื่อคุณแม่หลับไปแล้ว คุณหมอก็จะใช้ท่อหายใจเข้าไปในหลอดลมของคุณแม่ เพื่อจะได้ควบคุมการหายใจให้เป็นปกติ และใช้เป็นที่นำก๊าซยาสลบเข้าสู่ร่างกายของคุณแม่ด้วยค่ะ
            และเมื่อคุณแม่สลบไปแล้วนั้น คุณหมอจะค่อยๆ ทำการผ่าตัดโดยมีหมอวิสัญญีให้ความช่วยเหลือและคอยตรวจสอบความเรียบร้อย คอยปรับ คอยให้ยา วัดความดัน และทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่ออำนวยความสะดวกในการผ่าตัด โดยที่คุณแม่นอนนิ่งเงียบไม่รู้สึกตัวเลยด้วยซ้ำ           
การผ่าคลอดแบบ"บล็อกหลัง"
            จากที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นถึงกาญล็อกหลัง ซึ่งดูเหมือนว่าคุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่ที่ต้องทำการผ่าคลอด จะกลัววิธีนี้เป็นที่สุดเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นเข็มชนิดยาวมากๆ เพื่อฉีดเข้าไปในที่ปลอกไขสันหลัง ว่ากันว่าในคุณแม่บางรายยังไม่เกิดความชาเลยด้วยซ้ำคุณหมอก็ทำการผ่าแล้ว เสียงติส่วนใหญ่ทำให้วิธีบล็อกหลังนี้ดูจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ แต่แท้ที่จริงแล้วหากคุณแม่ขจัดความกลัวเหล่านีไปได้ วิธีบล็อกหลังนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในกระบวนการหลากหลายวิธีที่ใช้ในการผ่าตัดค่ะ
            โดยเริ่มแรกคุณหมอจะจับคุณแม่นอนในท่าตะแคง และให้คุณแม่งอหัวเข่า งอตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ แล้วใช้แขนทั้งสองข้างกอดเข่าเอาไว้ จากนั้นคุณหมอก็จะหาตำแหน่งในการฉีดยาบล็อกหลัง เพื่อทำการผ่าตัดต่อไป แต่ก่อนที่จะทำการฉีดยาเข้าปลอกไขสันหลัง คุณหมอก็มักจะให้ยาชากับคุณแม่ก่อนค่ะ (ไม่ได้โหดเหมือนที่เขาว่ากันหรอกนะคะ)
            และเมื่อฉีดยาชาเข้าไขสันหลังไปนเล้ว สักครู่คุณแม่ก็จะไม่รู้ สึกอะไรทั้งป็้น จะรู้สึกหนักอึ้งๆ เฉยๆ ไม่กระดุกกระดิก ชาในส่วนล่างทั้งหมด ใครทำอะไรกับตัวคุณแม่ก็ไม่รู้แล้วค่ะ คุณแม่ก็ได้แต่ นอนนึกภาพตามแล้วละค่ะว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายคุณแม่บ้าง แต่ ทางที่ดีไม่ควรจะไปนึกไปคิดตามหรอก เพราะอีกสักครู่คุณหมอก็จะทำการผ่าเอาคุณลูกออกเรียบร้อยแล้ว ทำใจดีๆ ทำใจเย็นๆ อย่าไป เกร็ง อย่าไปฝืน คิดเลยว่าอะไรเกิดมันก็ต้องเกิด นอนหลับตาไปเลยก็หมดเรื่องแล้วค่ะ
ใช้คีมช่วยคลอด
    ในกรณีฉุกเฉิน  หากเจ้าตัวเล็กของคุณแม่อยู่ผิดที่ผิดทางผิดเวลา  อย่างในช่วงใกล้คลอดเช่นนี้  มีคุณแม่รายหนึ่งที่ลูกน้อยอยู่ในท่ากลับหัวลงตามปกติ  แต่ก่อนเข้าห้องคลอดเจ้าตัวเล็กได้เกิดพลิกตัว  ทำให้คุณหมอต้องเตรียมการผ่าตัดสำหรับกรณีนี้  ซึ่งคุณหมอเรียกว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน  ไม่คาดคิดว่าเด็กจะพลิกตัว  โดยหากเป็นเช่นนี้คุณหมอมีก็จะใช้คีมเป็นเครื่องมือช่วยทำคลอด  เพราะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะให้ลูกน้อยรายนี้กลับตัว  ให้หัวของเจ้าตัวเล็กเคลื่อนมาอยู่ตรงช่องคลอด  เนื่องจากคุณแม่ปวดท้องมากแล้ว  ดังนั้นการใช้คีมจะช่วยได้มาก
    คีมที่ใช้ช่วยในการคลอดนี้คุณแม่หลายรายได้หวาดกลัวกันมากว่า  จะเป็นอันตรายต่อเจ้าลูกน้อยของคุณแม่  ซึ่งจริงๆ  แล้วคีมช่วยในการทำคลอดนี่เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ช่วยการคลอดปกติทางช่องคลอด  เป็นโลหะที่มีรูปร่างโค้งตามรูปหัวของเจ้าตัวเล็ก  และโค้งเข้ารูปกับช่องคลอดแม่  คล้ายๆ  กับกรรไกรด้ามโค้งแต่ไม่มีความคมและมีขนาดแตกต่างกันไป  เพื่อให้คุณหมอได้เลือกใช้ตามความเหมาะสมอีกด้วย    อย่างไรก็ตามคีมช่วยในการทำคลอดนี้อาจไปกดหัวเจ้าตัวเล็กอยู่บ้าง  และทำให้เกิดมีริ้วรอย  ซึ่งริ้วรอยดังกล่าวจะจ่างหายไปในที่สุด  และคุณหมอก็ได้มีความระมัดระวัง  มีความชำนาญเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องมือชนิดนี้เป็นอย่างดี  โดยคีมนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีแรงบีบคั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ดังนั้นคุณแม่จึงวางใจได้ว่า  หัวของเจ้าตัวเล็กคงไม่บุบไม่เบี้ยวอย่างที่คิดไว้ 
 เพราะคีมนี้จะช่วยประคองรอบๆ  หัวของลูกคุณแม่เท่านั้น  รับรองไม่มีแผลเป็นบนหัวเจ้าตัวเล็กของคุณแม่อย่างแน่นอนค่ะ    บางครั้งการใช้คีมทำคลอดนี้  ก็มักจะใช้กับคุณแม่ที่ทำการผ่าตัดคลอดทางช่องท้องเหมือนกัน  แต่ในยุคสมัยนี้การผ่าตัดดังกล่าวไม่ได้ลำบากและน่ากลัวเช่นสมัยก่อนแล้ว  ประกอบกับคุณหมอก็มีความชำนาญและเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก  จึงจะเห็นได้ว่าคุณแม่สมัยใหม่นี้มักจะเลือกทำการผ่าตัดคลอด  มากกว่าการคลอดด้วยตัวเองหรือที่เรียกว่าการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ 
การผ่าตัดทางหน้าท้อง
    การผ่าตัดเอาเจ้าตัวเล็กออกมาทางหน้าท้องนี้  ทางการแพทย์นิยมเรียกว่าวิธี  “ซีซาเรียน”  เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด  สำหรับเจ้าตัวเล็กที่อยู่ในท่าเอาก้นหรือขาลง  แต่คุณแม่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ  เพราะคุณหมอจะกำหนดวันเวลาที่จะทำการผ่าตัดอย่างแน่นอน  และมักจะนัดผ่าตัดใน  2  สัปดาห์  ก่อนครบกำหนดคลอด  เพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่  และช่วยให้คุณหมอได้ทำการผ่าตัดได้สะดวกขึ้นอีกด้วย  แต่อย่างไรก็ตาม  คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ยาเข้าช่วย  ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวก็อาจจะเป็นวิธีดมยาหรือวิธีบล็อกหลังก็แล้วแต่วิจารณญาณของคุณหมอ
ภาวะแทรกซ้อนจากการบล็อกหลังและการดมยา
    การผ่าตัดคลอดด้วยวิธีบล็อกหลังนี้  มักจะทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดหลังตามมา  ซึ่งคุณหมอก็ยอมรับว่าปวด  แต่ก็ไม่ได้มากมายเท่าใดนัก  ซึ่งการปวดหลังที่ว่านี้  คุณแม่มักจะปวดเองมากกว่าไม่ได้เกี่ยวกับการบล็อกหลังแต่อย่างใด  โดยสาเหตุที่ทำให้ปวดหลังนั้นอาจเกิดจากการให้นมเจ้าตัวเล็กเป็นเวลานานๆ  ต้องเกร็งหลัง  หรือในบางครั้งท่าให้นมลูกก็เป็นปัญหาทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เหมือนกัน    คุณหมอได้อธิบายสาเหตุของการปวดหลัง  ที่เกิดจากการบล็อกหลังอย่างละเอียดไว้ว่า  “ต้องมีการเจ็บหรือปวดที่ตรงกลางกระดูกสันหลังอย่างเดียวเท่านั้น  ตรงตำแหน่งที่คุณหมอใช้เข็มฉีดยาเข้าไปเท่านั้น  โดยหากปวดกล้ามเนื้อด้านหลังหรือปวดตรงจุดอื่นๆ  นั้นคือมีสาเหตุมาจากท่านั่งในการให้นมลูกอย่างไม่เหมาะสม” 
    โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการบล็อกหลังและการดมยานั้น  เป็นกรณีที่น้อยมาก  นานๆ  มักจะเกิดขึ้นสักรายสองรายซึ่งหากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัดแล้วละก็  รับรองไม่มีทางเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน  ดังนั้นคุณแม่มือใหม่ที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีดมยา  หรือบล็อกหลังนี้คงวางใจได้  ไม่ได้มีปัญหาอย่างเช่นคำกล่าวที่ได้ยินมาหรอกค่ะ         
            แต่จะว่าไปแล้ว หากคุณแม่บางคนใจอยากจะคลอดแบบธรรมชาติจริงๆ แต่ร่างกายคุณแม่ไม่เอื้ออำนวย ก็ต้องทำใจนะคะเพราะคุณแม่บางรายร่างกายไม่แข็งแรง ดังนั้นการคลอดโดยธรรมชาติที่ต้องใช้แรงเบ่งอย่างมาก อาจทำให้คุณแม่เป็นอันตรายได้